ตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน
บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด ให้บริการด้านกองทุนรวม ผ่านบริษัทในเครือ คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอเชีย เวลท์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน (Selling Agent) อย่างเป็นทางการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทั้งสิ้น 17 แห่ง สามารถซื้อขายได้ทุกกองทุน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณติดต่อ AWAM หมายเลข 02-207-2100
ทำไมต้องลงทุนในกองทุนรวม ?
“กองทุนรวม” หมายถึง เครื่องมือการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ ตามนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่ผู้ลงทุน โดยผู้ลงทุนจะได้รับ “หน่วยลงทุน” เป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ตนได้ลงทุนไป ซึ่งประโยชน์ของการลงทุนในกองทุนรวมแบ่งออกเป็น 3 ข้อ
-
มีมืออาชีพดูแลและตัดสินใจลงทุนแทนคุณ บริษัทจัดการกองทุนต่างๆ จะมีทีมงานที่มีความรู้ความชำนาญในการลงทุน ทำหน้าที่ติดตามข่าวสารและตัดสินใจลงทุนแทนคุณ
-
ช่วยในการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมเป็นการระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยหลายๆ ราย ทำให้เงินที่แต่ละคนนำมารวมกันมีจำนวนมากพอที่จะกระจายการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
-
มีกลไกปกป้องผู้ถือหน่วยลงทุน โดยผ่านทางสำนักงาน ก.ล.ต. ที่เป็นผู้กำกับดูแล และกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับธุรกิจจัดการลงทุน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน และยังมีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุน ในการรักษาผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้ถือหน่วย เช่น การดูแลตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือการสอบทานความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม
-
ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ตัวผู้ลงทุน (ผู้ถือหน่วยลงทุน) จะได้รับ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
-
ลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป “เงินได้จากการขายหน่วยลงทุน” จะได้รับยกเว้นภาษี แต่หากเป็นเงินได้จาก “เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร” จะยังคงมีภาระภาษีโดย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีหรือไม่ก็ได้ แต่จะไม่สามารถนำมาเครดิตภาษี
-
ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกินกองละ 15% ของเงินได้พึงประเมิน (เงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดยในส่วนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต้องนำไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่นายจ้างหักและนำส่งบริษัทจัดการในแต่ละปีด้วย
ที่มา : TSI.com